วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่พัทยา

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล       สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก "พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม" ซึ่งก่อตั้งเดือน กันยายน 2512 โดยคณะอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน(มหาวิทยาลัยบูรพา ในปัจจุบัน)

ในปี 2523 พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในมูลค่าถึง 230 ล้านบาท รศ.ดร.ทวี หอมชง  และคณะได้จัดทำโครงการ และขยายงานนี้ออกไปเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 23 มีนาคม 2525 และเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงเป็นองค์ประธานเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล

ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็น "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล" เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528

จัดแบ่งออกเป็นสามส่วน พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ ทางทะเล ได้แก่ โครงกระดูกปลาวาฬแกลบ ปลาทะเลลึก ลูกโซ่อาหารในทะเล แพลงตอน โลมา พยูนวัวทะเลหรือเงือก แมงกระพรุนและดอกไม้ทะเล ฟองน้ำ ปะการัง ปู กุ้ง หอย แอคไคโนเดิร์ม ปลาทะเล กระเบน ฉลาม โรนินโรนันและอนาก ปลาผิวน้ำ ปลาหน้าดิน ปลาในแนวปะการัง เต่าทะเล นกทะเล สาหร่ายทะเล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เครื่องมือประมง เครื่องมือสำรวจทางทะเล ทรัพยากรใต้ทะเล การทำเหมืองแร่ทะเล โบราณคดีใต้น้ำ อาหารจากทะเล ผลิตภัณฑ์ยาจากทะเล เครื่องใช้และเครื่องประดับจากทะเล โครงกระดูกโลมาอิรวดี โครงกระดูกพยูน พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย

สถานเลี้ยงสัตว์ น้ำเค็ม ได้แก่ สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นต้ำลง ปลาในแนวปะการัง การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม ปลาเศรษฐกิจ ปลารูปร่างแปลกและมีพิษ ปลาที่อาศํยในมหาสมุทร

ห้องปฏิบัติการวิจัย เป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการศึกษาคุณภาพทางเคมีของน้ำทะเล การศึกษาธาตุปริมาณน้อยและโลหะหนักในน้ำทะเลและสัตว์บางชนิด ในห้องปฏิบัติการประกอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพงและคุณภาพสูง ได้แก่ อะตอมมิคแอบซอบชั่น สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Atomic Absorption Spectrophotometer) ใช้สำหรับวิเคราะห์หาค่าประมาณโลหะหนักในน้ำ ในดินตะกอนและในตัวอย่างสัตว์, อินฟราเรด สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (Infrared Spectrophotometer) ใช้สำหรับศึกษาโครงสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์, อุลตราไวโอเลต-วิสิเบิลเปคโครโฟโตมิเตอร์ (UV-VIS Spectrophotometer) ใช้สำหรับหาปริมาณของสารต่าง ๆ เป็นต้น งานในห้องปฏิบัติการนี้ส่วนใหญ่ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม โดยการเตรียมตัวอย่างน้ำ แล้วนำมาวัดปริมาณหาสารอนินทรีย์ที่มีผลกระทบต่อสัตว์ด้วยเครื่องอุลตราไวโอเลต-วิสิเบิลสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางทะเลประกอบด้วยห้องปฏิบัติการรวม ๑๖ ห้อง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสมุทรศาสตร์(Oceanography Laboratory) ห้องปฏิบัติการเคมี(Chemistry Laboratory) ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา(Microbiology Laboratory)ห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธาน 1, 2(Taxonomy Laboratory I, II) ห้องปฏิบัติการโรควิทยา(Pathology Laboratory)ห้องปฏิบัติการนิเวศน์วิทยา 1, 2(Ecology Laboratory I, II) ห้องปฏิบัติการแพลงตอนพืช(Phytoplankton Laboratory)ห้องปฏิบัติการแพลงตอนสัตว์(Zooplankton Laboratory) ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1, 2(Aquaculture Laboratory I, II)ห้องเครื่องมือวิทยาศาสตร์(Instrument Room)

ส่วนที่เป็น พิพิธภัณฑ์ เป็นที่เก็บรวบรวม สรรพสิ่งมีชิวิต ในท้องทะเล มาจัดแสดงให้ชม โดยแยกประเภทสัตว์น้ำ ตามสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ของสัตว์ แต่ละชนิด

เวลาเปิดทำการ  วันธรรมดา (อังคาร-ศุกร์) 08.30 - 16.00 น. วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์) 08.30 - 17.00 น. *ปิดวันจันทร์*        อัตราค่าเข้าชมปัจจุบัน  เด็ก 15 บาท  ผู้ใหญ่ 30 บาท  นิสิตนักศึกษาในเครื่องแบบ 15 บาท  หมู่คณะนักเรียน 10 บาท ครูอาจารย์ผู้ควบคุม  25  บาท (โดยติดต่อล่วงหน้า)

รายการพิเศษ การดำน้ำให้อาหารปลา มีการสาธิตให้ชมทุกวันที่เปิดทำการ โดยจะทำการสาธิตเวลา 14.30 น. สำหรับวันหยุดราชการ เพิ่มรอบเช้าอีก 1 รอบ เวลา 10.30 น.

ที่มา sanook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น